ข่าวประชาสัมพันธ์ 15 - 31 ตุลาคม 265
ข่าวประชาสัมพันธ์ จังหวัดชลบุรี
สำนักงานประสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี
ระหว่างวันที่ 15 – 31 ตุลาคม 2565
********************************************************************
ผู้ว่าฯ ชลบุรี เตรียมการป้องกันอุบัติภัยช่วงเทศกาลวันลอยกระทง
นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า เนื่องในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เป็นวันลอยกระทงตามประเพณีไทย ในหลายพื้นที่ของจังหวัดชลบุรี มีการจัดงานประเพณีลอยกระทง โดยเฉพาะพื้นที่ริมน้ำ และร้านอาหาร เป็นสถานที่จัดงาน ในการจัดกิจกรรมดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัย ทั้งทางบกและทางน้ำ เกิดอัคคีภัย เกิดระบบไฟฟ้าขัดข้อง และมลภาวะทางทะเลได้ รวมทั้งในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะมีร้านค้าฉวยโอกาสนำพลุ ประทัด ดอกไม้เพลิง โคมลอย โคมควัน มาจำหน่ายอย่างผิดกฎหมาย
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสารธารณภัยจังหวัดชลบุรี เตรียมการป้องกันอุบัติภัยในช่วงวันลอยกระทง 2565 โดยเฝ้าระวัง ตรวจสอบความปอลดภัยบริเวณโป๊ะ ท่าเทียบเรือโดยสาร สถานที่ริมน้ำ และเส้นทางคมนาคมทางน้ำ ที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย สภาพไม่มั่นคงแข็งแรงอาจก่อให้เกิดสาธารณภัยได้งาน รวมทั้งความปลอดภัยของเรือโดยสาร โดยให้ดำเนินการแก้ไขต่อไป
ส่วนผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร ในเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารเรือโดยสารประจำทางและเรือเช่าเหมาลำ เน้นในเรืองการบังคับใช้มาตรการด้านความปลอดภัยระหว่างการโดยสารเรือ ทั้งเรื่องการตรวจสภาพความปลอดภัยของเรือ สภาพความพร้อมของผู้ควบคุมเรือ และผู้ช่วย ซึ่งผู้ประกอบการเรือโดยสารต้องจัดอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น เสื้อชูชีพที่มีมาตรฐาน เพียงพอต่อผู้โดยสาร จัดระเบียบการขึ้น-ลงเรือ จัดหน่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารสวมเสือชูชีพทุกคนก่อนออกเรือ รวมทั้งควบคุมไม่ให้บรรทุกผู้โดยสารและน้ำหนักเกินอัตรา ห้ามผู้ควบคุมเรือ และเจ้าหน้าที่ประจำเรือ ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด หากเห็นว่าคลื่นลมแรงเกินขีดความสามารถของเรือที่รับได้ให้งดนำเรืออกจากฝั่ง
หากเกิดอัคคีภัยหรืออุบัติภัยที่ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ให้ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุที่กำหนด และรายงานให้จังหวัดชลบุรีทราบทันที ทางโทรศัพท์/โทรสาร หมายเลข 038- 278031 – 2 หรือสายด่วน 1784 เพื่อดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
ปริญญา/ข่าว
*************************************
ผู้ว่าแจ้ เดินหน้านโยบายสำคัญ 4 เรื่อง
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอการ แต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงสังกัดกระทรวงมหาดไทย 37 ตำแหน่ง มีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นมา สำหรับจังหวัดชลบุรี นายธวัชชัย ศรีทอง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี แทนนายภัครธรณ์ เทียนไชย เนื่องจากเกษียณอายุราชการ
นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า ตนเป็นคนชลบุรีโดยกำเนิด เป็นชาวอำเภอเกาะสีชัง รับราชการในพื้นที่จังหวัดชลบุรีมาโดยตลอด มีความรัก ความผูกพัน อยากเห็นการพัฒนาและประชาชนชาวชลบุรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงมีนโยบายสำคัญเร่งด่วน 4 เรื่อง ดังนี้
1.การทำให้จังหวัดชลบุรีเป็น “เมืองสะอาด” โดยมอบหมายรองผู้ว่าราชการจังหวัดทุกท่านเข้าไปดูแลถนนสายหลักในจังหวัดชลบุรี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการทำกิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ทำความสะอาด จัดระเบียบสายไฟ สายสื่อสาร ป้ายประชาสัมพันธ์ ขุดลอกลำคลอง จัดเก็บผักตบชวาและสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อสภาพแวดล้อมเมืองให้น่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและทรัพย์สิน
2.การสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน เพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างหน่วยงานราชการกับประชาชน เช่น Facebook ผู้ว่าราชการจังหวัด เว็บไซต์สายตรงผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
3.การอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยให้หน่วยงานราชการอนุมัติ อนุญาตให้เป็นไปตามกรอบตามกฎหมาย เพื่อลดช่องว่างการเรียกรับผลประโยชน์ของข้าราชการ เพื่อความโปร่งใสตรวจสอบได้
4. ให้ความสำคัญกับเรื่องที่เป็นที่สนใจของสังคม เช่น การควบคุมโรค การศึกษา การแก้ไขยาเสพติดและความมั่นคง
นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ยังได้ให้ความสำคัญกับนักลงทุนชาวต่างชาติ ทั้งนักลงทุนที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว หรือนักลงทุนที่กำลังเข้ามาลงทุนใหม่ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของทุกท่านเป็นไปอย่างราบรื่น มีความสะดวก ปลอดภัย เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำงานและอยู่อาศัย รวมถึงการสนับสนุนการลงทุนในอนาคต เช่น การพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา ให้เพียงพอรวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ในส่วนของจังหวัดอาจต้องขอความร่วมมือภาคธุรกิจในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส คนยากจน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจและสังคมให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนต่อไป
ปริญญา/ข่าว
**************************************
สาธารณสุขชลบุรี เตือนประชาชน ปลายฝนต้นหนาว กับโรคไข้เลือดออก
นายแพทย์อภิรัต กตัญญุตานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า เนื่องจากขณะนี้เป็นเวลาที่เข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว ทำให้เกิดโรคไขเลือดออก (dengue hemorrhagic fever) ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยและอาจส่งผลร้ายแรงถึงขึ้นเสียชีวิตได้ ขอให้ประชาชนเตรียมตัวรับมือ และป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัน โดยเฉพาะที่ช่วงฤดูฝน ยุงยิ่งชุกชุม และทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคจากยุงได้ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ขอแนะนำการป้องกันและดูแลรักษาสุภาพ
สำหรับโรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ แพทย์ผู้รักษาต้องดูแลรักษาพยาบาลอย่างดีตลอดระยะวิกฤต คือ ช่วง 24 – 48 ชั่วโมง ที่การรั่งของพลาส ดังนั้นห้ามซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด และควรรีบมาพบแพทย์ทันทีที่มีอาการ จึงจะลดการเกิดความรุ่นแรงของโรคได้อย่างทันท่วงที
หากประชาชนมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมุก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ทั้งนี้ อาการอาจมีลักษณะคล้ายกันหลายโรค ทั้งไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก และโรคโควิด 19 ขอความร่วมมือให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม และกินร้อน ใช้ข้อนกลางมั่งล้างมือ
ปริญญา/ข่าว
********************************
ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูหวาน กรมปศุสัตว์ เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์
นางพนิดา จันทวัฒน์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี ได้รับรายงานจากกรมปศุสัตว์ ว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนฤดูกาล จากฤดูฝนสู่ฤดูหนาว ระหว่างวันสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งฝนตกหนักทำให้อากาศค่อนข้างชื้น สลับกับอากาศร้อนจัดในช่วงกลางวัน และหนาวเย็นลงในตอนกลางคืน สภาวะเช่นนี้ทำให้สัตว์เลี้ยงมีภูมิคุ้มกันต่ำลง
กรมปศุสัตว์เร่งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด และปศุสัตว์อำเภอ เพิ่มความถี่ในการออกตรวจเยี่ยมและให้คำแนะนำ ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในวิธีการเลี้ยงและการป้องกันโรคแก่เกษตรกร พร้อมค้นหาสัตว์ป่วยหรือตายที่มีอาการคล้ายโรคระบาด หากตรวจพบจะดำเนินการตามหลักการที่ถูกต้องทันที
สำหรับการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา กัมพูชา มาเลเซีย และลาว ตามรายงานขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) กรมปศุสัตว์มีหน่วยงานเฉพาะที่เฝ้าติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด และมีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการตรวจสอบการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเข้า-ออกตามแนวชายแดน และเจ้าหน้าที่ด่านกักสัตว์ได้ตั้งจุดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อยานพาหนะต้องสังสัยที่จุดผ่านแดน ทั้งรถยนต์ รถจักรยาน และรถเข็น
นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคสัตว์จากกรมปศุสัตว์และหน่วยงานสาธารณสุขเป็นหลัก รวมทั้งสามารถขอคำแนะนำและสอบถามข้อมูลต่างๆ ที่สำนักงานปศุสัตว์ใกล้บ้าน ในวันและเวลาราชการ และขอความร่วมมือประชาชนหากพบเห็นสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โปรดแจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัด อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแจ้งมาที่ปศุสัตว์จังหวัด โทรศัพท์หมายเลข 038 – 274046 หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ โทร 0-9630-11946 ตลอด 24 ชั่วโมง
ปริญญา/ข่าว
*****************************
ประกันสังคม เผยผลวินิจฉัยประสบอันตราย - เจ็บป่วยจากการทำงาน พร้อมย้ำ ! นายจ้างแจ้งลูกจ้างเจ็บป่วยจากการทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Compensate)
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เผยผลการดำเนินงานวินิจฉัยเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน เดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา มีจำนวน 7,090 ราย ผลการวินิจฉัยพบว่า เป็นกรณีไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจำนวน 187 ราย และกรณีมีสิทธิได้รับเงินทดแทน จำนวน 6,903 ราย แยกเป็น หยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 4,851 ราย หยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 1,997 ราย ตาย จำนวน 51 ราย และสูญเสียอวัยวะ จำนวน 4 ราย สำหรับการแจ้งประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างนั้น สำนักงานประกันสังคม ขอย้ำให้นายจ้าง สามารถแจ้งผ่านระบบ (E-Compensate) ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานฯ นำมาช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ นายจ้างแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ผ่านระบบ Web Application รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน ในการตรวจสอบการส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล ตลอดจนสามารถส่งเอกสารประกอบการรักษาพยาบาล และใบแจ้งหนี้ เพื่อประกอบการพิจารณาให้กองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้างที่ประสบอันตรายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการลดขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการ โดยที่นายจ้าง ลูกจ้าง และสถานพยาบาลไม่ต้องเดินทางมาติดต่อ ณ สำนักงานประกันสังคม เพียงเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ในหัวข้อ SSO E-Service สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ ทั้ง 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขาที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)
ปริญญา/ข่าว
************************************
สปส. แจ้งปิดปรับปรุงให้บริการรับชำระเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผ่าน App ShopeePay ชั่วคราว แต่ยังคงชำระเงินผ่าน App Shopee ได้
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ด้วยบริษัท ช้อปปี้เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนให้บริการรับชำระเงินกองทุนประกันสังคมผู้ประกันตนมาตรา 40 ผ่าน Mobile Application Shopeepay และ Application Shopee ได้แจ้งว่า จะดำเนินการปิดปรับปรุงพัฒนาระบบ Mobile Application ShopeePay ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่ใช้บริการไม่สามารถ ชำระเงินสมทบได้ชั่วคราว อย่างไรก็ตามผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ยังสามารถใช้บริการชำระเงินผ่าน Application Shopee ได้ตามปกติ
สำหรับช่องทางอื่นๆ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถชำระเงินสมทบผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร และหน่วยบริการอื่นที่เป็นตัวแทนให้บริการชำระเงิน ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) หรือที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส เทสโก้ โลตัส เคาน์เตอร์ CenPay Powered by บุญเติม และตู้บุญเติม ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลสำนักงานประกันสังคม โทรศัพท์ 1506 ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ หรือที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ
ปริญญา/ข่าว
**************************************
กระทรวงแรงงาน ออกประกาศลดเงินสมทบ เร่งช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตน กระทบค่าครองชีพเต็มที่
นางสาวลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ลงนามในประกาศกฎกระทรวง กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยมีผลบังคับใช้ งวดเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 เพื่อช่วยเหลือนายจ้างผู้ประกอบการ และพี่น้องผู้ประกันตน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ที่ได้รับความเดือดร้อน จากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอันเนื่องมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของค่าครองชีพหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ผ่านมา ซึ่งในประกาศกฎกระทรวง ได้กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้ปรับลดอัตราเงินสมทบ โดยให้จัดเก็บเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิมร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 3 ของค่าจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ปรับลดอัตราเงินสมทบ จากเดือนละ 432 บาท เหลือเดือนละ 240 บาท โดยเริ่มตั้งแต่งวดเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565
นางสาวลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า ในการลดอัตราเงินสมทบในครั้งนี้ ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน เหมือนเดิม อย่างไรก็ดีการลดอัตราเงินสมทบไม่มีผลกระทบถึงการออมเงินสะสมเข้ากองทุนชราภาพแต่อย่างใด จึงขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจในการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม ที่พร้อมปฏิบัติตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ นายจ้าง และผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม ในช่วงผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอันเนื่องมาจากการปรับตัวสูงขึ้น ของค่าครองชีพ ให้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์มากที่สุด
ปริญญา/ข่าว
******************************************