รองผู้ว่าประธานประชุมภัยช้างป่า ครั้งที่2
ชลบุรี จัดการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนและบูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยจากช้างป่า ครั้งที่2
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นายชัยพร แพรภิรมย์รัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนและบูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยจากช้างป่า จังหวัดชลบุรี ครั้งที่2/2567 ณ ห้องประชุมพระพิพิธโภไคย ชั้น3 ศาลากลางจังหวัดชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
จังหวัดชลบุรี จัดการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนและบูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยจากช้างป่า เพื่อให้ความชัดแย้งระหว่างคนกับช้างลดน้องลง เกิดการสูญเสียทั้งคนและช้างป่า รวมถึงพืชผลทางการเกษตร และทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ จึงมีประกาศราชกิจจานุเบกษาแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ช้างป่าขึ้น เพื่อเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาช้างป่า ร่วมทั้งการดำเนินงานการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า
สำหรับการประชุมในวันนี้ สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่2 (ศรีราชา) ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสัตว์ป่า เช่น ช้างป่า กระทิง ลิง และหมี โดยมีอัตราเงินช่วยเหลือเยียว ยา ดังนี้ เสียชีวิต ได้ค่าช่วยเหลือเยียวยา จำนวน 100,000 บาท บาดเจ็บทั่วไป ได้รับการเยียวยาไม่เกิด 30,000 บาท (จ่ายตามจริง) ส่วนเป็นอัมพาต ได้รับการเยียวยา จำนวน 100,000 บาท ถ้าสูญเสียแขน ขา หรือสายตาหนึ่งข้าง ได้รับการเยียวยา จำนวน 50,000 บาท ส่วนเสียแขน ขา หรือสายตา ร่วมสองแห่ง ได้รับการเยียวยา จำนวน 100,000 บาท และค่าขาดประโยชน์ ไม่เกิน 300 บาท ต่อวัน ในการนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระ ทบและต้องการความช่วยเหลือเยียวยา สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระ ทบจากสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ที่ เลขที่ 61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 หรือโทรศัพท์หมายเลข 02 – 561 0777 ต่อ 1660 หรือ www.dnp.go.th หรือwebmaster@dnp.mail.go.th ต่อไป
นายชัยพร แพรภิรมย์รัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า ปัจจุบันประสบปัญหาอุปสรรค หลายอย่าง อาทิ ความเสียหายด้านการเกษตร เกษตรกรไม่แจ้งเหตุ เพราะมองว่าไม่คุ้ม หากไม่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ไว้จะไม่ได้รับการเยียวยา และหากขึ้นทะเบียนไว้แล้วไม่แน่ใจว่าจะได้รับเงินชดเชยเยียวยาหรือไม่ เนื่องจากมีเงื่อนไขว่าต้องเสียหายโดยสิ้นเชิง อีกทั้งต้องมีประกาศพื้นที่เกิดภัยพิบัติจากจังหวัดก่อน เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกและมีความเที่ยงธรรมมากขึ้นคณะกรรมาธิ การฯ จึงอยู่ระหว่างดำเนินการยกร่างระเบียบขึ้นมาใหม่ โดยแยกภัยช้างป่าออกจากสาธารณภัยอื่น และได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาเป็นคณะอนุกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับงบประมาณ กฎหมาย ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชดเชยเยียวยาต่อไป
รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวในตอนท้ายว่า ให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดชล บุรี เป็นหน่วยงานหลักในการจัดอบรม ให้ความรู้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจและรับทราบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ บันทึกข้อตกลงระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รวมถึงให้ความรู้แก่ประชาชน จิตอาสา ครู และนักเรียน เพื่อให้สามารถดูแล ตนเองให้ปลอดภัยจากภัยช้างป่าเบื้องต้นได้ อาทิ เรื่องการสื่อสาร การช่องทางการแจ้งหรือประสานงาน กับหน่วยงานเพื่อขอความช่วยเหลือ รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบต่อไป
ปริญญา/ข่าว/ภาพ