สสช. นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ชลบุรี เก็บข้อมูลสํามะโนประชากรและเคหะในพื้นที่ต้นแบบ EEC
สสช. นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ชลบุรี เก็บข้อมูลสํามะโนประชากรและเคหะในพื้นที่ต้นแบบ EEC พร้อมยกระดับการทํางานสู่รัฐบาลดิจิทัล
วันพฤหสับดีที่ 11 มีนาคม 2564 สํานักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นําคณะ สื่อมวลชนลงพื้นที่ชุมชนหนองขาม อําเภอศรีราชา ติดตาม “คุณมาดี” เก็บข้อมูลสํามะโนประชากรและเคหะ ในพื้นที่ต้นแบบเขต EEC เพื่อศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการทําสํามะโนประชากรและเคหะโดย ใช้ฐานข้อมูลทะเบียนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 พร้อมเผยทิศทางการดําเนินงานพร้อมนํา องค์กรเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
นางสาววันเพ็ญ พูลวงษ์ ผู้อํานวยการสํานักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า “จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของสํานักงานสถิติแห่งชาติอย่างมาก โดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบ Face to Face ซึ่งส่งเจ้าหน้าที่ลงไปในพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ประชาชนนั้น ไม่สามารถดําเนินการได้ ประกอบกับสังคมมีความต้องการใช้ข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์มากขึ้น สสช. ตระหนัก ดีว่าจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนและทบทวนวิธีการทําสํามะโนในรูปแบบใหม่ จึงได้จัดให้มีการศึกษา โครงการ การศึกษาและพัฒนาต้นแบบการจัดทําสํามะโนประชากรและเคหะจากฐานข้อมูลทะเบียน หรือ Register- based Census” ถือเป็นโครงการนําร่องที่จัดทําขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบ กรอบแนวคิด และวิธีการทําสํามะโน โดยใช้ฐานข้อมูลทะเบียนเสริมวิธีการจัดทําสํามะโนประชากรและเคหะ เพื่อให้ได้ข้อมูล ที่ถูกต้อง ครบถ้วน และครอบคลุมประชากรของประเทศ”
Register-based Census ดําเนินการใน 3 จังหวัดซึ่งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี ใน 2 อําเภอ ได้แก่ อําเภอศรีราชาและอําเภอพนัสนิคม เป็นการเก็บข้อมูลจากประชากรทุกคนตามที่อยู่อาศัยจริง ณ วันที่กําหนด โดยใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งได้ดําเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2563 - เดือนมีนาคม 2564
ผู้อํานวยการสํานักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า การปรับเปลี่ยนวิธีการทําสํามะโนจากแบบดั้งเดิม มาใช้ฐานข้อมูลทะเบียนนั้น ทุกประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการทําสํามะโนของประเทศ เพราะสามารถใช้ข้อมูลจากทะเบียนที่ หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ มีอยู่แล้วมาใช้แทนการปฏิบัติงานสนามได้ หากวิธีการนี้ได้ถูกนํามาใช้จะทําให้ประชาชน ตอบคําถามและใช้เวลาน้อยลง ซึ่งจะนําไปสู่การให้ความร่วมมือของประชาชนในการตอบข้อมูลกับ สสช. มากขึ้น และได้ข้อมูลที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นด้วย ผลการศึกษาจากโครงการนี้ อาจนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญ สําหรับการปรับเปลี่ยนวิธีการทําสํามะโนในอนาคตต่อไป
ประชาชนที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลสถิติที่น่าสนใจมากมายจากสํานักงานสถิติแห่งชาติ ได้ที่เว็บไซต์ www.nso.go.th โซเชียลมีเดีย Line Official Account “NSO OF THAILAND” และโมบายแอปพลิเคชัน “THAI STAT” หรือ โทรสอบถามที่เบอร์ 0 2141 7500-03
ปริญญา/ข่าว/ภาพ