ท่าเรือแหลมฉบัง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อจัดการบริหารท่าเทียบเรือชุดบี

 

  

  

ท่าเรือแหลมฉบัง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ในรายงานการประเมินผลกระทบ สวล. โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1  เพื่อจัดการบริหารท่าเทียบเรือชุดบี รองรับการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังที่อาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีปริมาณตู้สินค้ามากขึ้น พร้อมทำการปรับปรุงพื้นที่หลังท่าให้เหมาะสมต่อการขนส่งสิค้า

            นายสัญชัย ชนะสงคราม ผู้อำนวยหารส่วนสิ่งแวดล้อมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็น การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ในรายงานการประเมินผลกระทบ สวล.โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1 พร้อมด้วย เรือเอกกานต์ เมนะรุจิ รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง น.ส.นัฐอนันตา จินดาพงศ์เจริญ ผู้อำนวยการกองแผนงานท่าเรือแหลมฉบัง นายทวีพงษ์  จันทร์งาม นักวิชาการขนส่งชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาชลบุรี  ผู้แทนหน่วยงานราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และนักวิชาการที่ประชุมรับฟังความคิดเห็น การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1 ณ ห้องประชุมโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีท ศรีราชา-แหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

            นายสัญชัย ชนะสงคราม ผู้อำนวยหารส่วนสิ่งแวดล้อมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า การรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลกับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการที่จะเกิดขึ้นและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมทั้งขอบเขตการศึกษา และการประเมินทางเลือกโครงการ เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการรับฟัง มาใช้ประกอบการศึกษาและการจัดทำรายงานฯให้ครบถ้วน

          ดังนั้นการจัดงานดังกล่าว เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้เป็นช่องทางในการร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรมของท่าเรือแหลมฉบัง ในการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เช่น ต่อชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ ที่จะดำเนินโครงการต่อไป

        ด้านเรือเอกกานต์ เมนะรุจิ รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง กล่าวว่า การรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ เกี่ยวกับเรื่องโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1 ในส่วนของท่าเทียบเรือชุด B ที่จะหมดสัมปทานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ดังนั้น ทางท่าเรือฯ จึงทำการศึกษาในเรื่องของแผนธุรกิจ ว่าจะมีรูปแบบอย่างไรต่อไป ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยน อาจจะทำให้รูปแบบธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไปนั้น และไม่ตรงกับ อีไอเอ. ที่มีการศึกษาเอาไว้ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีกครั้งว่าการดำเนินการปรับเปลี่ยนธุรกิจมีผลกระทบอย่างไรกับภาคเอกชนและสิ่งแวดล้อมบ้าง

          สำหรับการดำเนินการในส่วนของท่าเทียบเรือชุด B ซึ่งมีท่าเทียบเรือ 5 ท่า และจะหมดสัมปทานในเร็วๆ นี้ ดังนั้นการท่าเรือจึงต้องเร่งทำการศึกษาแบบธุรกิจ แต่ทางด้านกายภาพ จะไม่มีการเปลี่ยน แปลงของท่า เช่น ความลึกก็ยังคงไว้ที่ 14 เมตร ในระดับน้ำทะเลปานกลางก็จะคงความลึกเช่นเดิม หน้าท่าก็จะมีความยาวรวมเท่าเดิม แต่ได้มีการศึกษาไว้ เช่น จะมีการแบ่งท่าเทียบเรือเดิม จำนวน 5 ท่า ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนขนาดของเท่า แต่จำนวนท่าอาจจะลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อการประกอบธุรกิจ และสร้างรายได้ต่อการท่าเรือเพิ่มขึ้น

         โดยจากการศึกษาเบื้องต้น จะลดจำนวนท่าจาก 5 ท่าเทียบเรือ เหลือจำนวนเท่าไรนั้น ขณะนี้รอประกาศจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงมีผลกระทบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ขออนุญาตไว้ตั้งแต่แรก  ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมซ้ำอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงในฝั่งท่าเทียบเรือชุด B ในอนาคต จะไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน  หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆในพื้นที่ สำหรับการรับฟังความคิดเห็นนั้น จะต้องดำเนินการ 2 ครั้ง เพื่อทำรายงานให้ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมทราบต่อไป

          ด้านนายทวีพงษ์ เผยว่า การประชุมรับฟังความคิดในครั้งนี้ เป็นการทบทวนรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1 นั้น ได้รับความเห็นชอบ จาก สผ.แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 และการดำเนินการในครั้งนี้ก็เป็นเรื่องที่ดีมาก จะได้มีการศึกษาใหม่ในทุกๆด้านที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากท่าเรือแหลมฉบังจะมีการการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบการใหม่ในปี พ.ศ. 2568 หลังผู้ประกอบการเดิมหมดสัญญา และจะมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นที่บริเวณด้านหลังท่าฯ ซึ่งจะทำให้การจราจร ,ปริมาณตู้สินค้าเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่พื้นที่โครงสร้างท่าเทียบเรือต่าง ๆไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความยาว ความลึก และขนาดความยาวเรือ ตามข้อกำหนดของกรมเจ้าท่า แต่ในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ประชาชนในพื้นที่ยังมีความเป็นห่วง ด้านปัญหาการจราจร การเชื่อมต่อเส้นทางในการสัญจร

         “หากประชาชน ยังมีข้อวิตกกังวล ก็ข้อให้เสนอแนะ เพื่อสื่อถึงหน่วยงานราชการต่างๆในพื้นที่ และที่สำคัญขณะนี้โครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ที่ กำลังเกิดขึ้น โดยท่าเรือแหลมฉบังจะต้องมีการชี้แจงสิ่งต่างๆที่มีการเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ที่อยู่ในพื้นที่ อีอีซี”นายทวีพงษ์  

        ขณะที่นายรุ่งระวี โสดานา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า ตัวแทนชุมชน ในพื้นที่ที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อโครงการดังกล่าว เผยว่า ตนเองได้คิดตามการขยายท่าเรือแหลมฉบังตั้งแต่ระยะที่1 จนถึงปัจจุบัน และในครั้งนี้ ท่าเรือแหลมฉบังมีคางการที่จะ ปรับเปลี่ยนรายละเอียดหลังท่าเทียบเรือชุดบี โดยการขยายพื้นที่หลังท่าเทียบเรือให้มีขนาดใหญ่และยาวขึ้น ซึ่งเดิมยาว 200-300 เมตร เป็น 400 - 500 เมตร โดยจะยาวกว่าเดิม เพื่อสามารถรองรับตู้สินค้าที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถรองรับเรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น 

       แต่อย่างไรก็ตามพวกเราก็ยังเป็นห่วงในเรื่องของการจราจร บนฝั่ง นอกจากนี้ยังมีความกังวลในเรื่องของผลกระทบเนื่องจากเมื่อมีขนาดท่าเรือใหญ่ขึ้นและยาวขึ้น ผลกระทบก็จะเพิ่มตามมาด้วย ในด้านของสิ่งแวดล้อม เช่น ด้านเสียง และคุณภาพน้ำเสียจากเรือสินค้า ดังนั้นหากท่าเรือแหลมฉบัง จะดำเนินการพัฒนาต่อ ก็ขอให้ดูแล ด้าน EHIA ให้ดีขึ้นและเข้มงวดขึ้นจากเดิม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนที่อยู่โดยรอบของการเจริญเติบโตในครั้งนี้

ปริญญา/ข่าว/ภาพ

Visitors: 224,336