พานาโซนิค จับมือพันธมิตร คิกออฟเดินเครื่องรีไซเคิลถ่านไฟฉายที่ใช้แล้ว
พานาโซนิค จับมือพันธมิตร คิกออฟเดินเครื่องรีไซเคิลถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วนำทุกชิ้นส่วนกับมาสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2567 ที่ห้องประชุม1 บริษัท ยูเอ็มซี เม็ททอล จำกัด พานาโซนิค เอเนอร์จี (ประเทศไทย) จับมือ ยูเอ็มซี เม็ททอล และซีพี ออลล์ ร่วมประกาศความสำเร็จ "โครงการรีไซเคิลถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)" ใช้เทคโนโลยีเตาเผา ECOARC™M หลอมถ่าน ไฟฉายใช้แล้วเพื่อแยกเอาวัสดุกลับมาสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจ โดยเป็นเทคโนโลยีเฉพาะที่ใช้กับถ่าน ไฟฉายของพานาโซนิคเท่านั้น เนื่องจากเป็นถ่านไฟฉายที่ไม่มีสารอันตรายต่อสิ่วแวดล้อม นอกจากนี่ยังต่อยอดความร่วมมือกับร้านค้าเซเว่น อีเลฟเว่น ตั้งเป้าหมายเพิ่มจุดรับถ่านไฟ ฉายที่ใช้แล้วเป็น 1,000 สาขาภายในปี 2567 เพื่อนำถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
มร.ทาคุยะ ทานิโมโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค เอเนอร์จี (ประเทศไทย) กล่าวว่า "ในแต่ละ ปี ประเทศไทยมีปริมาณการบริโภคถ่านไฟฉายกว่า 300 ล้านชิ้น ที่ผ่านมาถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วมักถูกทิ้งหรือทำลายโดยการฝังกลบ ซึ่งการทิ้งถ่านโดยไม่คัดแยกก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันพื้น ที่ในการฝังกลบมีจำกัดพานาโซนิค เอเนอร์จี จึงได้มีแนวคิดในการรับคืนถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วจากผู้บริโภค เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีโซเคิลอย่างถูกวิธี และนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดมูลค่าใหม่ในระบบเศรษฐกิจ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy
"พานาโซนิค เอเนอร์จี ได้พยายามมองหาพันธมิตรที่มีแนวคิดสอดคล้องกัน โดยเริ่มจากการส่งตัวอย่าง ถ่านไฟฉายให้กับโครงการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีรีไซเคิลถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วและของเสียจากกระบวนการผลิต ถ่านไฟฉาย ของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม และนำมาสู่การขยายผลความ ร่วมมือกับ ยูเอ็มซี เม็ททัล (UMC Metals) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการรีไซเคิลเหล็ก โดยทำการรีไซเคิลเศษโลหะและเศษ วัสดุที่ไม่ใช่โลหะสำหรับโครงการนี้ อีกทั้ง พานาโซนิค เอเนอร์จี ยังได้ร่วมมือกับซีพี ออลล์ จัด ตั้งจุดบริการรับทิ้ง ถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วณ ร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น โดยเริ่มจาก 31 สาขา ในปี 2565 และเพิ่มเป็น 50 สาขา ในปี 2566
"ขณะนี้ พานาโซนิค เอเนอร์จี ได้รับอนุญาตกระบวนการรีไซเคิลวัสดุจากถ่านไฟฉายให้เป็นเหล็ก จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงพร้อมเดินหน้า "โครงการรีไซเคิลถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วตามแนวคิดเศรษฐกิจ หมุน เวียน (Gircular Economy)" ได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยการนำถ่านไฟฉายใช้แล้วไปหลอมรวมกับเศษเหล็กอื่น ๆ ด้วยเตาหลอมเหล็ก ECOARC™ ที่มีเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากการหลอมนอกจากเหล็กแท่งที่สามารถนำมาขายต่อในอุตสาหกรรมเหล็กได้แล้ว ยังมีวัสดุที่สามารถนำกลับมาสร้าง คุณค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อีก เช่น ตะกรันเหล็ก ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการถมที่ื้นที่ทั่วไป และ EAF หรือ ฝุ่นแดง สามารถนำมารีไซเคิลเป็นชิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) ซึ่งพานาโซนิคกำลังศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำกลับมาเป็น วัตถุดิบในการผลิตถ่านไฟฉายใหม่อีกครั้ง การดำเนินโครงการครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่บรรลุผลสำเร็จในการรีไซเคิลถ่านไฟฉายใช้แล้ว ช่วยลดปริมาณขยะในระบบนิเวศน์ และสามารถนำผลิตภัณฑ์กลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้
ทางด้าน นายเศรษฐวุฒิ ยินมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอ็มซี เม็ททอล จำกัด กล่าวว่า "ยูเอ็มซีเม็ททอล เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเหล็กเส้นคุณภาพมาตรฐานอุตสาหกรรม มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการหลอมเหล็กมาเป็นเวลานาน สำหรับโครงการ "รีไซเคิลถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)" นี้ ใช้กระบวนการหลอมถ่านไฟฉายร่วมกับเศษเหล็กอื่น ๆ ด้วยเตาหลอม ECOARC™ ซึ่งเป็นต้นแบบเตาหลอมประสิทธิภาพสูง ที่ได้รับการพัฒนาจากประเทศญี่ปุ่นโดยเน้นในเรื่องการประหยัดพลังงาน คำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สามารถบำบัดมลพิษ และกำจัดสารไดออกซิน ก่อนปล่อยสู่อากาศ โดยตั้งอยู่ที่ ยูเอ็มซี เม็ททอล จ. ชลบุรีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย โดยกรมส่ง เสริมอุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรม และรัฐบาลญี่ปุ่น โดยองค์กรพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO)
สำหรับถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วที่รวบรวมจากจุดรับทิ้งถ่านไฟฉายหน้าร้านเซเว่น อีเลฟเล่น จะถูกขนส่งมายัง ยูเอ็มซี เม็ททอล ในจังหวัดชลบุรี เพื่อเข้าสู่กระบวนการหลอมรวมกับเศษเหล็กในอัตราส่วนที่กำหนด และส่งเข้าเตาหลอม ECOARC™ โดยใช้รถยกตะแกรง (Skip car) และเมื่อกระบวนการหลอมเสร็จสิ้นลง จะได้ออกมาเป็นน้ำเหล็กและถูกส่งต่อไปยังเตาปรุงน้ำเหล็ก เพื่อปรับค่าเคมีของเหล็ก ก่อนจะนำไปหล่อเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กแห่ง (Billet) เพื่อ ส่งขายในอุตสาหกรรมเหล็กต่อไป
ความพิเศษของเตาหลอม ECOARC™ คือ สามารถกรองของเสียต่าง ๆ และนำมาแปรรูปกลับให้เป็นวัสดุที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจได้ ได้แก่ ตะกรันเหล็ก (Slag) นำไปเป็นรัสดุทดแทนการก่อสร้างทำถนนและถมที่ทั่วไป สนิมเหล็ก (Scale) นำไปเป็นวัตถุดิบปูนซีเมนต์ และฝุ่นแดง (EAF Dust) ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) รวมถึงการกรองมลพิษ กรองฝุ่น (Bag House Filter) ก่อนปล่อยสู่อากาศ" นายเศรษฐวุฒิ กล่าว
มร.ทานิโมโตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า "จากการเปิดจุดรับทิ้งถ่านไฟฉายที่ใช้แล้ว (Collection Box) ผ่านเซเว่น อีเลฟเว่น ในปีที่ผ่านมา สามารถรวบรวมถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วจากผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ พานาโซนิคเอเนอร์จี ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ซีพี ออลล์ ขยายจุดรับทิ้งถ่านไฟฉายใช้แล้วเป็น 1,000 จุด โดยจะช่วยให้รวบรวมถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วเพื่อนำเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้มากขึ้น ทั้งนี้ เป้าหมายสูง สุดของโครงการ คือการนำถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วกลับไปผลิตเป็นถ่านไฟฉายก้อนใหม่ ซึ่งถือเป็นการรีไซเคิลถ่านไฟฉายใช้แล้วเต็มรูปแบบครั้งแรกของไทย โดยทั้งหมดนี้เพื่อสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน"
ปริญญา/ข่าว/ภาพ