ม บูรพา ร่วมกับ อบจ ระยอง จัดแถลงข่าวผลกระทบน้ำมันรั่วไหล

ม. บูรพา ร่วมกับ อบจ. ระยอง จัดแถลงข่าวผลกระทบน้ำมันรั่วไหล

        วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา และ นายปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง พร้อมด้วยคณะทำงานจากทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมแถลงข่าว การติดตามผลกระทบของน้ำมันรั่วไหลต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและเศรษฐกิจและสังคม ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง

        สืบเนื่องจากสถานการณ์น้ำมันรั่วไหลจากท่อส่งน้ำมันที่เกิดขึ้น ในวันที่ 25 มกราคม 2565 และน้ำมันดังกล่าวได้แพร่กระจายเข้าสู่พื้นที่ชายหาด บริเวณหาดแม่รำพึง จังหวัดระยองนั้น ทางองค์การบริหาส่วน จังหวัดระยอง ได้คำนึงความจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลทรัพยากรและความเป็นอยู่ของประชาชน จึงได้วาง แผนติดตามผลกระทบกรณีน้ำมันรั่วไหลที่จะเกิดขึ้นทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดระยอง โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ส่งคณาจารย์ นักวิจัย ลงพื้นที่สำ  รวจพบคราบน้ำมันลอยบริเวณผิวน้ำทะเล ในวันที่ 29-30 มกราคม 2565 โดยเก็บข้อมูลสิ่งแวดล้อมบริ เวณชายฝั่ง พบว่าน้ำมันส่วนหนึ่งถูกกระแสน้ำพัดขึ้นมาเกยอยู่บริเวณชายหาด ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว

         ในการศึกษาผลกระทบนี้ มหาวิทยาลัยบูรพาได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและได้จัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโน โลยีทางทะเล คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ คณะการจัดการการท่องเที่ยว คณะสาธา รณสุขศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อสำรวจสภาพน้ำทะเลบริเวณที่เกิดเหตุ รวมทั้ง  ตรวจสอบผลกระทบของคราบน้ำมันมีผลต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ครอบคลุมผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และสามารถประเมินผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้

        ในการนี้ คณะทำงานได้แบ่งประเด็นปัญหาและขอบเขตการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1. การศึกษาผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ได้แก่ การสำรวจการปนเปื้อน การแพร่กระจายของคราบน้ำมัน ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล แพลงก์ตอน ดินตะกอน กระแสน้ำ คุณภาพน้ำ การปนเปื้อนของโลหะหนักที่พบในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต และนำไปสู่การฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมหากจำเป็น 2.การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การศึกษาผลกระทบต่อการท่องเที่ยว การประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารทะเลที่อาจจะส่งผลทางกับสุขภาพของผู้บริโภค การสร้างการรับรู้ สื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นและฟื้นฟูธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และ3.การจัดทำแผนการป้องกันและรับมือเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวางโครงสร้างการทำงานร่วมระหว่างหน่วยงาน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ มหาวิทยาลัยบูรพาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการวิจัย การผลิตกำลังคนและพัฒนาบุคลากร การดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการศึกษาในกรณีนี้จะได้นำเสนอให้ทราบเป็นระยะต่อไป

ปริญญา/ข่าว/ภาพ

Visitors: 219,044