ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชน เปิดโครงการถนนกินได้ และศูนย์ปันสุขชุมชน
ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชน เปิดโครงการถนนกินได้ และศูนย์ปันสุขชุมชน
วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564 นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการถนนกินได้ และศูนย์ปันสุขชุมชน ณ แปลงโคก หนอง นา โมเดล ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี โดยมีนายอิรยศ เอนก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี พร้อมด้วยนายประเมิน อุมา พัฒนาการจังหวัดชลบุรี และข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง สังกัดศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี
นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน เพื่อสร้างความมั่งคงทางอาหารให้แก่บุคลากรและคนในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน ไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด เช่น กระเพรา กะเพราะแดง โหระพา ตำลึง กระเจี๊ยบเขียว ผักบุ้ง มะเขือ พริก ข่า ตะไคร้ ไพล ขมิ้น ถั่วพู ต้นแค ชะอม ชะพลู วอเตอร์เครส ผักปัง มะพร้าว มะม่วง มะละกอ เป็นต้น เพื่อลดรายจ่ายให้บุคลากรและประหยัดเงินในกระเป๋า มีอาหารที่ปลอดภัยไว้บริโภคสามารถพึ่งพาตนเองได้ ถ้ากินอาหารให้เป็นยาก็ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ผลจากการปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคทำให้ลดรายจ่ายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 31,000 บาท
นายอริยศ เอนก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี เปิดเผยว่า ตนเองมีนโยบายจัดตั้ง ศูนย์ปันสุขชุมชน ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากร และประชาชนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อลดรายจ่าย ลดค่าครองชีพ เพื่อบริหารจัดการขยะ ลดปริมาณขยะลดโลกร้อน เพื่อการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ เพื่อการออมเงินและเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับบุคลากรและประชาชนทั่วไป มีสุขภาพร่างกายเข็งแรง ดำเนินการ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านกองทุนศูนย์ปันสุขชุชน (แหล่งเงินทุนฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ) ด้านความมั่งคงทางอาหาร (เพื่อแบ่งปันพืชผักสวนครัว) ด้านการลดค่าครองชีพ (บริการตัดผมชาย) ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (บริการพื้นที่ออกกำลังกาย) ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Zero Waste) และ ด้านการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ (ผลิตภัณฑ์ปันสุข)
นอกจากปลูกพืชผักสวนครัวบริเวณบ้านแล้ว ยังร่วมแรงร่วมใจกันปลูกพืชผักสวนครัวบริเวณข้างถนนภายในศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี บนแปลงโคก หนอง นา โมเดล พื้นที่กว่า 350 ตารางเมตร และจัดตั้งเป็นศูนย์ปันสุขชุมชน เพื่อแบ่งปันพื้ขผักสวนครัว ไม้ผลให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคิตดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID 19) และบุคคลทั่วไป โดยจะมีบุคลากรจากสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาชลบุรี เขต1 คนงานก่อสร้าง ประชาชนทั่วไป และบุคคลภายนอก เข้ารับเก็บพืชผักสวนครัวไปบริโภคกว่า 100 คน
ปริญญา/ข่าว/ภาพ