สมาคมคนพิการภาคตะวันออกสนับสนุนการยกห้องเรียนมาหาคนพิการ

  

  

สมาคมคนพิการภาคตะวันออกสนับสนุนการยกห้องเรียนมาหาคนพิการและผู้ดูแลคนพิการจังหวัดชายขอบเพื่อฝึกอาชีพไปทำมาหาเลี้ยงชีพตามโครงการมาตรา 35

         ดร.ณรงค์ ไปวันเสาร์ นายกสมาคมคนพิการภาคตะวันออกและอุปนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยว่าเป็นผู้ผลักดันการฝึกอาชีพของคนพิการด้านการเคลื่อนไหวหรือร่างกายและผู้ดูแลคนพิการตามมาตรา35 ให้คนพิการมีอาชีพมีรายได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน การฝึกอาชีพให้กับคนพิการอย่างเหมาะ สมถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเปลี่ยนผู้พิการที่ถูกมองว่าเป็นภาระ ให้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายของ "มูลนิธิคนพิการภาคตะวันออก" ที่มุ่งเน้นการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ผู้พิการมีรายได้ โดยสมาคมคนพิการภาคตะวันออก ได้ยกห้องเรียนมาหาคนพิการและผู้ดูแลคนพิการเพื่อฝึกอาชีพไปทำมาหาเลี้ยงชีพ ที่จังหวัดชายขอบ คือจังหวัดบุรี รัมย์ การเรียนทำขนมเบเกอรี่ 600 ชั่วโมง อบรมตั้งแต่วันที่20พ.ค.-20พ.ย.2567 ที่ศูนย์ฝึกอบรมสมาคมคนพิการด้านการเคลื่อนไหวหรือร่างกายบุรีรัมย์ อาคารเอนกประสงค์เทศบาลตำบลสองชั้น  อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีผู้เข้าอบรม 76 คนในครั้งนี้ โดยระหว่างเรียนการทำขนมนั้นจะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 328 บาท อาหาร3 มื้อ อาหารว่าง วัสดุอุปกรณ์ฟรี เรียนจบจะได้รับเตาอบ วัสดุอุปกรณ์ฟรี โดยในการเรียนทำขนมในครั้งนี้ผู้สอนที่ชำนาญการเรียนมาจากมหาวิทยาลัยต่างๆจนชำนาญจนได้รับใบประกาศมาจากทางมหาลัยที่ไปเรียนมาจึงมาเป็นครูสอนได้เป็นย่างดี

และที่ศูนย์ฝึกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยจังหวัดสุรินทร์ อาคารเอนกประสงค์หมู่ที่16 ตำบลนาบัว อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีการสอนหลักสูตรช่างตัดเย็บเสื้อผ้าระดับต้น 600ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 20พ.ค.ถึงวันที่20พ.ย.2567โดยมีครูผู้มีความรู้ความสามารถที่มีใบประกาศจากมหาวิทยาลัยของรัฐมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้พิการและผู้ดูและคนพิการที่มาเรียนรู้ตามโครงการมาตรา35 จำนวน 55 คน ซึ่งผู้ที่มาเรียนจนจบจะได้รับจักรเย็บผ้า 1 ตัวพร้อมอุปกรณ์ตัดเย็บ เพื่อนำไปทำอาชีพ ตัดเย็บเสื้อผ้า ซ่อมแซมเสื้อผ้า ในการเรียนตัดเย็บเสื้อผ้าก็จะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 328 บาท อาหาร3 มื้อ อาหารว่าง วัสดุอุปกรณ์ฟรี ซึ่งทั้ง2 โครงการนี้ ได้รับการสนับสนุน การดำเนินการฝึกโดยสมาคมคนพิการภาคตะวันออก ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณมาจาก บริษัทปิโตรเลียมไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด

       จาก พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต พ.ศ. 2550 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2556  ทำให้มีหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน และการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการคือ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นหน่วยงานในสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่ง พรบ.ฉบับดังกล่าวได้กำหนดไว้ในมาตรา 33 ให้มีการจ้างงานคนพิการทำงานในสถานประกอบการ 100 ต่อ 1 คน โดยสถานประกอบการสามารถลดหย่อนภาษีสองเท่า และการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอํานวยความสะดวก หรือบริการในอาคารสถานที่ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน มาตรา 34 เป็นการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับนาย จ้างไม่ประสงค์จะจ้างงานคนพิการ ส่วนมาตรา 35 นายจ้างหรือสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงานในมาตรา 33 ไม่ประสงค์ส่งเงินเข้ากองทุนในมาตรา 34 ก็ให้นายจ้างหรือสถานประกอบการส่งเสริมให้คนพิการได้เข้าถึงเรื่องอาชีพตามมาตรา 35 สถานประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นอาจให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ หรือจัดจ้างเหมาช่วงงาน หรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก หรือ ความช่วยเหลืออื่นใด

           ดร.ณรงค์ ไปวันเสาร์ นายกสมาคมคนพิการภาคตะวันออกและอุปนายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยกล่าวต่อว่าตามโครงการฝึกอบรมตามมาตรา 35 คนพิการจึงมีโอกาส มีช่องทางในการมีรายได้ ทำให้ไม่เป็นภาระกับครอบครัว คนพิการสามารถติดต่อกับองค์กรคนพิการที่อยู่ในจังหวัดของท่าน สมาคมคนพิการทุกประเภทประจำจังหวัด  ถ้าไปหน่วยงานของรัฐ ติดต่อได้ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ ศูนย์บริการคนพิการประจำจังหวัดนั้นๆ ช่วยให้คำแนะนำให้คำปรึกษาได้

       ซึ่งด.ร.ณรงค์ กล่าวต่อว่าโครงการนี้ถ้าห้างร้าน บริษัท หน่วยงาน ต่างๆที่ไม่อยากจ้างแรงงานคนพิการตามมาตรา35 และไม่อยากเสียค่าปรับสามารถจะนำเงินจำนวนนี้ มาให้ทางสมาคมเราฝึกอาชีพคนพิการ โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นทางเลือกทางหนึ่งที่ทำอาชีพและมีงานทำและเป็นแนวทางออกหนึ่งของบริษัทที่สร้างงานคนพิการไม่ได้เพราะว่าคนพิการตามจังหวัดชายขอบ ยังเข้าไม่ถึงโอกาสในการทำงาน ไม่สามารถเข้าไปทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรมได้  เพราะทุกคนมีภาระหน้าที่ มีบ้าน  มีพ่อแม่ มีลูกต้องดูแล จึงไปทำงานไม่ได้ เพราะฉนั้นโครงการฝึกงานตามมาตรา35 ทางสมาคมผู้พิการภาคตะวันออกจึงต้องยกห้องเรียนไปให้เค้า ให้เค้ามีอาชีพ ทำงานอยู่ที่บ้านได้  สามารถมีอาชีพมีงานทำได้ โครงการนี้จึงเป็นโครงการที่ เปีนแนวทางใหม่เป็นทางเลือกสำหรับบริษัทที่จะช่วยเหลือคนพิการ เป็นการสร้างCSR ให้กับทางบริษัท เป็นการช่วยเหลือคนพิการได้โดยตรง ถ้าหาก บริษัท ห้างร้านที่ยังจ้างคนพิการไม่ครบตามจำนวน น่าจะลองใช้วิธีนี้เพื่อที่จะทดแทนการจ้างงานคนพิการ สามารถติดต่อได้ที่สมาคมคนพิการภาคตะวันออก โทรศัพท์ 081-6691111หรือ เวปไซด์สมาคมคนพิการภาคตะวันออก www.ead.or.th สามารถติดต่อเราได้ ทางสมาคมเราจะดูแลด้านเอกสารลดขั้นตอนความยุ่งยากทุกขั้นตอน ทางบริษัทไม่ต้องยุ่งยากในเรื่องการทำเอกสารแต่อย่างไร

          นางสาวเฉลา สุทัยรัมย์ หนึ่งในผู้เข้าร่มโครงการได้กล่าวขอบคุณอาจารย์ณรงค์และบริษัทปิโตรเลียมไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ท่านได้นําโครงการที่ดีมาให้คนพิการและก็ผู้ดูแลได้ฝึกอบรมอาชีพ เพื่อที่จะได้มีความรู้ไปต่อยอด ฝึกอาชีพทำที่บ้านก็ได้โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีพอมาฝึกแล้วได้ความรู้ได้วิชา ไปประกอบอาชีพที่บ้าน แล้วก็ได้มีรายได้เข้ามาอีกทางหนึ่ง ได้ดูแลคนในครอบครัวอยู่ที่บ้านและอยากให้โครงการดีๆมีตลอดไป เพื่อที่คนพิการและก็ผู้ดูแลที่ไม่สามารถไปทำงานที่อื่นได้ อยู่ในชนบทในบ้านเพื่อดูแลคนพิการไปด้วย แล้วก็คนพิการที่ไม่สามารถไปทำงานที่อื่นได้ก็ได้มีงานทำอยู่ที่บ้านซึ่งกิจกรรมที่ผ่านมา ก็มีการเรียนตัดเย็บเสื้อผ้าค่ะ พอฝึกอบรมเสร็จก็จะมีการมอบ มอบจักร เกี่ยวกับที่เย็บจักรนี่แหละค่ะ มอบให้ไปทำที่บ้าน เพื่อที่ จะได้ต่อยอดไปได้ส่วนในวันนี้มีการสอนขนมเบเกอรี่ หลักสูตรก็มี 9 อย่าง วันนี้มีชิพฟอน คุกกี้แล้วก็แยมโรล สำหรับโครงการนี้คิด ว่ามีความสำคัญกับผู้พิการเป็นอย่างมากมากเพราะว่า ได้เป็นการทำให้คนพิการมีโอกาสได้ทำฝึกอบรมอาชีพค่ะเพื่อที่จะได้มีรายได้

ปริญญา/ข่าว/ภาพ

Visitors: 216,248