เมืองพัทยา เปิดรับฟังความคิดเห็นสำรวจออกแบบถนนสาย ช9
เมืองพัทยาพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ มุ่งสู่การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะออก
วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 ณ ศาลาการเปรียญ วัดบุญย์กัญจนาราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมืองพัทยาได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ได้รับการจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อรับความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ โดยมีการเสนอแผนการปรับปรุงเส้นทางถนนหลักและการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะสนับสนุนการเชื่อม ต่อระหว่างพื้นที่สำคัญทั้งภายในและนอกพื้นที่จังหวัด ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ โดยมี นายจาตุรนต์ เอื้อโรจนอังกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี นางสาววินิตตา สวนมอญ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม นายปรีดา ทองสุขงาม ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก
นายจาตุรนต์ เอื้อโรจนอังกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพี เปิดเผยว่า โครงการนี้เน้นย้ำการพัฒนาเส้นทางคมนาคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในส่วนของระบบขนส่งที่เชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างการเชื่อมโยงที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนการพัฒนาเครือข่ายถนนและสะพานที่สามารถรองรับการเติบโตของสังคมในอนาคต อีกทั้งยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และยังเป็นการสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนให้กับระบบการขนส่งในอนาคต ขณะเดียวกันการประชุมในครั้งนี้ได้มุ่งเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้การพัฒนานี้มีความครอบคลุมและตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
สำหรับโครงการสำรวจ ออกแบบถนนสาย ช 9 ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะออกการวางแผนลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์ และสิ่งอำนวยความสะดะดวกการบริการภาครัฐ สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจอกรองรับ 10 อุตสาหกรรมการลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล และการลงทุนขนาดใหญ่ของกากาคเอกชน ส่งแลใต้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเขตเมืองพัทยามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับจำนวนประชากรที่เข้ามาในภาคธุรกิจในเมืองพัทยาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีผลให้เมืองพัทยาประสบปัญหาการจราจรตีดตัดขัดอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และในวันหยุดเทศกาลระยะยาว เมืองพัทยาจึงมีความจำเป็นจะต้องเพิ่มพื้นที่การจรา จรโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะถนนที่อยู่ในโครงข่ายของผัวเมืองรวมเมืองพัทยาเพื่อการรองรับสภาพการจรจรตนาแน่นในปัจจุบัน และการขยายตัวของพื้นที่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
นอกจากนี้การพัฒนาโครงการจะช่วยเพิ่มคุมคุณภาพการให้บริการของโครงขายถนนให้เกิดการเชื่อมโยงเส้นทางแบบเป็นล่าดับชั้น (Hierarchy of Highway) สามารถรักษาความสามารถในการเคลื่อนที่ (Mobility ction) ความสามารถในการเข้าถึงพื้นพื้นที่ (Accessibility Function) และเพิ่มความปลอดภัยในลดข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยวอันเนื่องมาจากระบบคมนาคมและขนส่ง เป็นการส่งเสริมศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับการพัฒนาเมืองพัทยาให้มีบทบาทการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวระดับประเทศและระดับนานาชาติในด้านธุรกิจบริการ สอดคล้องกับนโยบายเขตพัฒนาพิเศษกาคตะวันออก (Easte Corridor : EEC)
อย่างไรก็ตาม การออกแบบของโครงการอาจเกิดผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน คุณภาพชีวิต
หรือมีส่วนได้เสียสำคัญเกี่ยวกับบุคคล ชุมชนท้องถิ่น หรือสภาพแวดล้อม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งทีต้องมีการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยยึดหลักความโปร่งไสและความการให้ข้อมูลโครงการ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน รวมทั้งมีการรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากชุมชน เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการแสตงความคิดเห็นและข้อห่วงกังวลที่อาจเกิดขึ้นจากพัฒนาโครงการ เพื่อนำผลที่ได้ไปพิจารณาประกอบ ในการศึกษาของโครงการให้มีความสมบูรณ์รอบด้านและสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ้าย
ปริญญา/ข่าว/ภาพ