แรงงานกว่า3000คนจาก24บริษัทยื่นหนังสือของความช่วยเหลือ

  

  

  

แรงงาน-นายจ้างกว่า 3,000 คนจาก 24บริษัทรับเหมาช่วงไทย เดินเท้ายื่นหนังสือผู้บริหารโครงการพลังสะอาด 

          แรงงาน-นายจ้างกว่า 3,000 คนตัวแทนจาก 24 บริษัทรับเหมาช่วงไทยรวมตัวเดินเท้าแสดงพลังยื่นหนังสือร้องขอความเห็นใจเจ้าของโครงการพลังงานสะอาดใน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จี้ผู้รับ เหมาใหญ่ต่างชาติจ่ายเงินค้างค่างวด บูมกระหึม PAY PAY PAY ขณะพ่อเมืองชลบุรี ส่งตัวแทนรับเรื่องร้องทุกข์ 

       วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายชัยพร แพภิรมย์รัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วย นายนพ รัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอศรีราชา หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่โรงกลั่นน้ำมันพบแรงงาน จำนวน 3,000 กว่าคนจาก 24 บริษัทผู้รับเหมาช่วงไทย เพื่อเรียกร้องค่าจากผู้รับเหมาต่างชาติจ่ายเงินค้างค่างวด

         จากกรณีที่สหพันธ์ผู้รับเหมาโรงกลั่น TOP โครงการพลังงานสะอาด CFP (Clean Fuel Project โรงกลั่นน้ำมันในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่เกิดจากการรวมตัวของ 24บริษัทผู้รับเหมาช่วงไทย ได้ร่วมกันแถลงถึงผลกระทบที่เกิดจากการจ่ายเงินงวดของผู้รับเหมาหลักที่ ล่าช้าต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือนจนส่งผลกระ ทบต่อทั้งนายจ้าง และแรงงานกว่า 2 หมื่นชีวิต พร้อมประกาศเดินเท้ายื่นหนังสือแจงความเดือดร้อน และข้อเรียกร้องที่ต้องการให้เจ้าของโครงการฯ แสดงความชัดเจนในการเจรจากับบริษัทผู้รับเหมาหลัก เพื่อให้นำเงินที่ได้รับออกมาจ่ายค่างวดงานให้กับผู้รับเหมาไทย ก่อนที่สายป่านทางการเงินจะขาดจนต้องลอยแพแรงงานกว่า 20,000 คนนั้น

      และในวันนี้ นายธวัชชัย ศรืทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้มอบหมายให้ นายชัยพร แพภิรมย์รัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เดินทางมายังบริเวณโค้งด้านหน้าโรงเรียนบุญจิตวิทยา ซึ่งเป็นจุดนัดรวมตัวของตัว แทนนายจ้างและแรงงานจาก 24 บริษัทผู้รับเหมาช่วงไทย เพื่อร่วมเดินเท้าไปยื่นหนังสือต่อผู้บริหารโครงการพลังงานสะอาด ใน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

       ขณะที่รูปแบบการเดินขบวนจะแบ่งเป็น 2 เส้นทางคือ ขบวนแรกได้ออกเดินจากประตู 1 โครงการพลัง งานสะอาดฯ ไปยังป้ายสามเหลี่ยมด้านหน้าโครงการฯ ส่วนขบวนที่ 2 เดินเท้าจากโรงเรียนบุญจิต วิทยา ไปยังป้ายสามเหลี่ยมหน้าโครงการฯ เพื่อร่วมบูม PAY PAY PAY เรียกร้องให้ผู้รับเหมาหลักจ่ายเงิน งวด ซึ่งทั้ง 2 ขบวนจะมีผู้ร่วมเดินเท้ามากกว่า 3,000 คน โดยจะมีทั้งผู้บริหารบริษัทรับเหมาช่วงและแรง งาน ที่พร้อมใจกันสวมใส่หมวก safety และเสื้อยูนิฟอร์มถือธงสัญลักษณ์ของแต่ละบริษัท รวมทั้งป้ายข้อ ความต่างๆ อาทิ คนจ่ายใจลอย คนคอยใจจะขาด รอเงินจาก 10,000 บาทจากรัฐ ยังดูมีความหวังกว่ารอเงินจาก ..., คนไทยตกงาน บริษัทต่างชาติไม่จ่ายเงิน หรือแม้แต่การระบุชื่อ 3 ผู้ร่วมทุนบริษัทรับเหมาหลักต่างชาติ พร้อมเรียกร้องให้จ่ายเงิน ฯลฯ และระหว่างเดินทางยังจัดทีมการ์ดของแต่ละบริษัทช่วยเคลียร์เส้นทาง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ ปิดท้ายขบวนด้วยทีมแม่บ้านที่จะช่วยทำความสะอาดจุดที่เดินผ่านเพื่อลดความเดือดร้อนต่อประชา ชน ผู้ใช้รถใช้ถนน

       ส่วนเนื้อหาบางตอนที่ระบุในจดหมายซึ่งยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และผู้บริหารโครงการพลังงานสะอาด อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ระบุว่า “ปัจจุบันผู้รับเหมาช่วงไทย กำลังประสบปัญหาอย่างหนักจากการที่ผู้รับเหมาหลักค้างชำระค่าจ้างก่อสร้าง แม้ว่าผู้รับเหมาช่วงได้ส่งมอบงานตามสัญญาเรียบร้อยแล้วซึ่งเป็นผลงานตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2567 รวมมูลค่าหลายพันล้านบาท และได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทผู้รับเหมาช่วงกว่า 100 กว่าราย และแรงงานกว่า 10,000 คน

      นอกจากนี้ ผู้รับเหมาช่วงบางรายยังจำเป็นต้องดำเนินงานต่อโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จนทำให้เกิดภาวะขาดสภาพคล่องเป็นระยะเวลายาวนาน โดยยังไม่ได้รับการเยียว ยาหรือความช่วยเหลือที่เพียงพอจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การค้างชำระค่าจ้างก่อสร้างดัง กล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงในวงกว้างทั้งความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ เนื่องจากโครงการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน เป็นโครงการสำคัญที่จะเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศการล่าช้าหรือหยุดชะงักของโครงการจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อแผนพัฒนาพลังงานในระยะยาว

        และยังส่งผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานกว่าหลายพันคนและครอบครัวที่ถูกเลิกจ้างและที่กำลังจะถูกเลิกจ้างสถานการณ์นี้อาจนำไปสู่ปัญหาสังคมที่รุนแรงในวงกว้าง เช่น การเพิ่มขึ้นของอาชญา กรรม หรือปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน รวมทั้งความเชื่อมั่นต่อเจ้าของโครงการในไทย ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างร้าย แรงต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของเจ้าของโครงการขนาดใหญ่ระดับประเทศ ซึ่งมีกระทรวงการคลังถือหุ้นทางอ้อมในอันดับต้นๆ และอาจส่งผลกระทบระยะยาวในอนาคตฯลฯ ” และยังได้มีการเรียกร้องให้ภาครัฐ และผู้ถือหุ้นทางอ้อมของเจ้าของโครงการ หาแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในการบรรเทาความเดือดร้อนและรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่าย เพื่อประครองให้โครงการดำเนินต่อไปได้

       รวมทั้งข้อให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์การค้างชำระค่าจ้างผู้รับเหมาช่วงในโครงการ และประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อความสำเร็จของโครงการ และจัดหามาตรการช่วยเหลือเร่งด่วน สำหรับกลุ่มบริษัทผู้รับเหมาช่วง รวมถึงแรงงานที่ได้รับผลกระทบบ โดยเฉพาะการจัดตั้งกองทุนฉุกเฉิน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของแรงงานและครอบครัว ที่สำคัญยังขอให้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่ง รัดกระบวนการจ่ายค่าตอบแทนที่ค้างชำระ โดยอาจพิจารณาใช้มาตรการช่วยเหลือทางกฎหมายหากจำเป็น ฯลฯ

ปริญญา/ข่าว/ภาพ

Visitors: 218,965